วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ธรรมกายทำอะไรก็มีอุปสรรค!! การเผยแผ่ในต่างประเทศก็เช่นกัน...

คุณว่า อะไร?? ที่จะสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้คนจีน (ชาวพุทธ) สิงคโปร์ เหล่านี้มายืนเรียงแถวรับ-ส่งอาหาร หวังเพื่อมีส่วนในบุญที่จะเกิดขึ้นในการถวายภัตตาหารแด่พระคุณเจ้าฯ ในมื้อเที่ยงของวันหนึ่ง 




และคุณว่า การปลูกศรัทธาในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทในประเทศสิงคโปร์ ประเทศที่มีความหลากหลายความเชื่อ เชื้อชาติ ต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?? 



สิงคโปร์ประเทศเล็กๆ ที่มีอายุเพียง 52 ปี มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ทั้งจีน มาเลย์ อินเดีย ฝรั่งมังค่า ฯ อาศัยอยู่ร่วมกัน ทางศาสนาก็มีทั้งคริสต์ อิสลาม ฮินดู พุทธ ฯ หลากความเชื่อ เฉพาะพุทธเองก็มีหลายนิกาย (มหายาน เถรวาท วัชรยาน ฯลฯ) งั้นการเผยแผ่พระศาสนานิกายเถรวาทนั้นไม่ง่าย

ด้วยเนื้อที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด สิงคโปร์บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ 




เช่นเดียวกับสถานที่เพื่อการปฏิบัติธรรม ใครสักคนจะหาที่นั่งสมาธิในสิงคโปร์แห่งนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ด้วยค่าครองชีพที่สูงลิบ การบริหารจัดการที่ดิน แหล่งที่อยู่อาศัยที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้การสร้างวัดพุทธที่เน้นการปฏิบัติธรรม ก็เป็นเรื่องที่ยากเป็นเงาตามตัว

ถามว่า อะไรคือสิ่งที่สร้างศรัทธา ปลูกศรัทธาให้คนจีนสิงคโปร์แห่งนี้รัก และศรัทธาในพระพุทธศาสนา?? สำหรับ Dhammakaya Center Singapore แล้ว สิ่งที่ปลูก - สร้างศรัทธาคือ "สมาธิ" และวิถีชีวิตของพระ ซึ่งก็คือความ "เรียบง่าย"

ที่นี่ในทุกวัน คนจีนสิงคโปร์จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาทำภัตตาหารถวาย พร้อมแบ่งหน้าที่ทำความสะอาดวัด ทั้งกวาด ถู เช็ด ทำความสะอาดห้องน้ำ สิ่งเหล่านี้ทุกคนล้วนทำด้วยความเต็มใจ ไม่มีเกี่ยงว่างานใคร คนไหนควรทำ




ใน 1 สัปดาห์ของที่นี่ จะมี 4 วันที่จะมีกิจกรรมนั่งสมาธิ โดยแต่ละครั้งที่มีการจัดกิจกรรมจะมีคนใหม่มาร่วมกิจกรรมเสมอ โดยคนเก่าที่เคยมาร่วมปฏิบัติธรรมนั่นเอง ซึ่งคนเก่าเองนั้นแหละที่จะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงคอยดูแล ดั่งสโลแกนที่ว่า "โดยชาวสิงคโปร์ เพื่อชาวสิงคโปร์"



ถามว่า กิจกรรมแต่ละครั้งทำอะไร? นอกจากนั่งสมาธิ ยังมีการทำวัตร สวดมนต์ ฟังธรรมด้วย ซึ่งแน่นอนพระอาจารย์ที่นี่ต้องใช้ภาษาจีน และภาษาอังกฤษได้ดี ซึ่งกว่าจะมีวันนี้ไม่ง่าย เพราะกว่าจะสามารถถ่ายทอดธรรมะที่ลุ่มลึกในพระพุทธศาสนาให้คนท้องถิ่นเข้าใจได้อย่างง่ายๆ นั้น  ไม่ใช่เพียงว่าแค่จบเปรียญธรรม หากต้องศึกษาภาษา วัฒนธรรม ความเชื่อของท้องถิ่นนั้น รวมถึงระเบียบกฏเกณฑ์ต่างๆ ในสังคม และกฏหมายในการสร้างสิ่งก่อสร้างด้วย

และใครบางคนอาจจะยังไม่ทราบว่า วัดพระธรรมกายไม่เคยมีนโยบายขนเงินมาสร้างวัดในต่างประเทศ หากแต่ได้ดำเนินรอยตามพระพุทธองค์ ที่ส่งพระสงฆ์สาวกมีแค่บาตรบริขาร ออกไปประกาศพระศาสนากันตามลำพังยังละแวกแคว้นต่างๆ ในสมัยพุทธกาล พระอาจารย์จากวัดพระธรรมกายไปบุกเบิกในต่างแดนก็มีเพียงย่าม 1 ใบ กับอุดมการณ์ในการบวช และความจริงใจในการเผยแผ่ธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น นอกนั้นหาเอง 



ดังนั้นถามว่า การจะปลูกศรัทธาในต่างแดนมันง่ายเหรอ?? โดยเฉพาะประเทศที่แตกต่างทางวัฒนธรรม ภาษา ความเชื่อ แถมบางประเทศมองคนไทยว่าคล้ายมาจากประเทศโลกที่ 3 



และหากจะมีใครถามว่า เหตุใดสิ่งก่อสร้างของศูนย์สาขาวัดพระธรรมกายในต่างแดน ที่ส่วนใหญ่มีความเรียบง่ายแต่มีความสง่างามในตัวเอง? ก็เพราะว่า แก่นธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเน้นเรื่องการปฏิบัติ โดยการปลดปล่อยวางเรื่องราวภายนอกแล้ว แสวงหาสัจธรรมที่อยู่ในกลางใจกลางตัวของมนุษย์นั่นเอง ถึงไม่มีลวดลายจิตรกรรมฝาผนัง ช่อฟ้าใบระกา ก็เพราะว่า ธรรมะขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ที่หลักคำสอน และการปฏิบัติ  





หรือหากอยากมองกันให้ชัดๆ ก็ลองมาปฏิบัติกันจริงๆ จังๆ อย่างน้อยสักพรรษา (จะได้มาอินเทรนกับวัดพระธรรมกายกับเขาอีกคน) จะเข้าใจหัวอกพระ วัดพระธรรมกายได้ง่ายขึ้น 

ลองมองภาพให้กว้างบ้าง จะเข้าใจข้อจำกัด และอคติที่มีก็จะหมดไป เชื่อไหม?? ลองสิ!!



ขอบคุณศูนย์สาขาสำหรับการเอื้อเฟื้อข้อมูล

วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พระธาดา..ถ้ารู้ว่ามีปัญหาอย่างนี้้ จะบวชไหม??

ไหนใครเลยจะรู้ ว่าผู้บริหารระดับสูงโนเกีย ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ที่ทิ้งหน้าที่การงานความสุขสบาย ยกบ้านและที่ทางทั้งหมดให้คนอื่นมาบวชในพระศาสนานับ 10 ปี... 



พระธาดา จรณธโร เจ้าอาวาสสำนักสงฆ์เขาวงพระจันทร์ อ.อุ้มผาง จ.ตาก วัดร้างเก่าแก่ท่ามกลางพี่น้องชาวเขาชาวดอย ตลอดการมาจำพรรษาที่นี่ ท่านได้ใช้วิชาความรู้ที่มีในการพัฒนาสำนักสงฆ์แห่งนี้ ได้จัดบวชพระ บวชเณร ได้เปิดสอนภาษาอังกฤษให้กับพระเณรชาวเขา ชาวดอย




และใครจะรู้ว่า ท่านให้ความสำคัญกับป่าไม้กว่าใครๆ เพราะอย่างการสร้างกุฏิที่พักสงฆ์ ท่านลงทุนศึกษาเรื่องไผ่ โดยใช้เทคโนโลยีต่างประเทศ จัดสร้างกุฏิไผ่ที่มีความคงทนไม่แพ้การใช้วัสดุอย่างอื่น เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มไผ่รักษ์โลก มีสมาชิกเป็นผู้รักไผ่จากทั่วประเทศไทย หวังเพื่อประหยัดงบประมาณ และรักษาไม้ยืนต้นในป่า ในการเทศน์สอนท่านจะสอดแทรกเรื่องการดูแลขุนเขาป่าไม้และสายน้ำเสมอ พร้อมให้สิ่งก่อสร้างนั้นเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกับธรรมชาติในพื้นที่


และท่านเองเป็นผู้พลิกพื้นป่าเสี่อมโทรมที่ชาวบ้านแผ้วถางทำไร่ มาจัดสร้างศูนย์อบรมเยาวชนอุ้มผาง เพื่อเปิดโอกาสให้เด็ก เยาวชนชาวเขาได้มีโอกาสศึกษาธรรมะ ขณะที่ต่างศาสนิกอื่นก็บุกเผยแผ่คำสอนให้ชาวเขาอย่างเข้มข้น





ซึ่งความดีของท่านทำให้ได้รับ "รางวัลองค์กรสาธารณประโยชน์อันดับ 1 ของจังหวัดตาก" ในปี 2556 และความดีของท่านนี้เอง เมื่อวันเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ได้แจ้งข่าวบอกท่านถึงภัยที่กำลังจะมาถึง ด้วยกำลังตำรวจ 150 นาย และนายตำรวจที่ชื่อศรีวราห์  พร้อมแนะนำว่าให้ท่านออกจากพื้นที่ไปก่อน 





วันนี้ พระธาดา จรณธโร ผู้เคยตำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงโนเกีย (เมื่อครั้งบริษัทนี้ยังรุ่งโรจน์) ภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค  ทิ้งสมบัติทางโลกทุกอย่างไว้เบื้องหลัง มุ่งหน้าศึกษา-เผยแผ่ธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  



ถามว่าหากท่านรู้ว่าจะต้องเจอสิ่งเหล่านี้ 
“ท่านจะยังบวชไหม?? 
ท่านจะยังทิ้งทุกอย่างไหม?? 
และท่านยังจะมีอุดมการณ์ในการออกบวชอีกไหม??”